รูปของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

ปัญหาที่พบในภัยแล้ง

ภัยร้าย"ฤดูแล้ง"อันตรายในโรงเรียน ขาดน้ำดื่มสะอาด-พบปนเปื้อนสารพิษ
          ภัยแล้งเริ่มแพร่ระบาดไปหลายหมู่บ้าน ประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้แหล่งน้ำเริ่มแห้งลง โดยเฉาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของประเทศเกิดสถานการณ์ภันแล้งทุกปี ส่งผลกระทบต่อการภาคการเกษตรกร และการดำรงชีวิตในด้านต่างๆของประชาชนจากข้อมูลกรมป้องกันภัย และบรรเทาสาธารณภัย เกิดสถานการณ์ภัยแล้งรวม 14 จังหวัด 61 อำเภอ 353 ตำบล 2,290 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 20.06 ของหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง และ 3.06 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ แยกเป็น ภาคเหนือ 7 จังหวัด 43 อำเภอ 245 ตำบล 1,736 หมู่บ้าน ได้แก่ กำแพงเพชร ตาก พิจิตร ลำปาง แพร่ น่าน และพิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จังหวัด 2 อำเภอ 12 ตำบล 156 หมู่บ้าน ได้แก่ ชัยภูมิ ภาคกลาง 3 จังหวัด 11 อำเภอ 79 ตำบล 174 หมู่บ้าน ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี และเพชรบุรี และภาคตะวันออก 2 จังหวัด 4 อำเภอ 12 ตำบล 196 หมู่บ้าน ได้แก่ ตราด และสระแก้ว ภาคใต้ 1 จังหวัด 1 อำเภอ 5 ตำบล 28 หมู่บ้านคาดว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะส่งผลกระทบให้พื้นที่การเกษตรเสียหาย จำนวน 84,953 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 30,442 ไร่ นาข้าว 25,154 ไร่ พืชสวน 29,357 ไร่ ประมาณการมูลค่าความเสียหาย 11,832,527 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจังหวัดประสบภัยแล้งรวม 19 จังหวัด 89 อำเภอ 439 ตำบล 2,873 หมู่บ้าน น้อยกว่าจำนวน 583 หมู่บ้าน"ภัยแล้ง" อาจจะส่งผลกระทบ ร่วมถึงปริมาณน้ำดื่มน้ำภายในโรงเรียนได้ โรงเรียนก็ไม่ควรชะล่าใจ เนื่องจากภัยแล้งปีนี้มาเร็วและอาจจะยาวนาน ส่งผลทำให้โรงเรียนขาดแคลนน้ำ ดังนั้นโรงเรียนควรเตรียมการ และเฝ้าระวัง ตลอดจนหาวิธีการบรรเทาภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นภายในโรงเรียนดังนี้..สำรวจสภาพปัจจุบันของถังน้ำ แท้งค์น้ำ บ่อบาดาล ว่ามีร่องรอยชำรุด รูรั่ว ต้องซ่อมแซมหรือซ่อมบำรุงหรือไม่ การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อำเภอ เทศบาล หรือสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำน้ำมาเตรียมบรรจุใส่ไว้ในถังเก็บน้ำให้เพียงพอกรณีที่โรงเรียนขาดแคลนน้ำ การใช้น้ำอย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์อย่างมากที่สุด เพราะโรงเรียนเป็นศูนย์รวมเด็กๆเป็นจำนวนมาก การใช้น้ำ เพื่อการดื่ม การปรุงอาหารกลางวัน การล้างทำความสะอาด การใช้น้ำในห้องน้ำห้องส้วม ตลอดจนกิจกรรมการเกษตร การปลูกพืชผักสวนครัว เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยสำคัญเป็นอย่างมากทางโรงเรียนจึงต้องเตรียมน้ำไว้สำหรับใช้ภายในโรงเรียนอย่างพอเพียง ที่สำคัญโรงเรียนก็ต้องให้ความรู้ และฝึกฝนให้นักเรียนรู้จักการใช้น้ำอย่างประหยัด ไม่ใช้น้ำอย่างไม่รู้คุณค่า ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านพัก การสั่งสมอุปนิสัยการรู้ประหยัดน้ำ การเห็นคุณค่าของน้ำให้แก่นักเรียน ก็จะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนได้รู้จักการใช้น้ำอย่างประหยัด เป็นการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในระยะยาวได้อย่างเป็นรูปธรรมนายปราณีต ร้อยบาง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบโยบายและแผน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล บอกถึงปัญหาที่มีการสำรวจแหล่งน้ำดื่มในโรงเรียนตามชนบท ในช่วงฤดูภัยแล้ง ว่า ทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ มีการสำรวจโรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อเตรียมขุดเจาะน้ำบาดาลสะอาดดื่มได้ ให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนน้ำดื่ม จากการสำรวจโรงเรียน 32,000 กว่าแห่ง พบว่ามีโรงเรียนที่ยังขาดแคลนน้ำดื่ม และน้ำดื่มไม่สะอาดที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน 2,478 แห่ง เนื่องจากน้ำดื่มที่นักเรียนดื่มพบว่าไม่มีสะอาด และมีการปนเปื้อน อาจจะส่งผลเสียให้กับการเจริญเติบโตทางด้านสมองของเด็กนักเรียน รวมถึงโรคอย่างอื่นที่มากับน้ำที่ไม่อะอาด ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายเด็กนักเรียนในระยะยาวได้
          นอกจากนี้ โรงเรียนบางแห่งยัง พบว่า น้ำดื่มที่บริการให้กับเด็กนักเรียนภายในโรงเรียนมีสารปนเปื้อน หรือสารพิษ ที่มากับน้ำ เนื่องจากโรงเรียนบางแห่งตั้งอยู่ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งทิ้งขยะ และกากสารพิษ ทำสารพิษซึมลงสู่ดิน และไหลลงสู่แหล่งน้ำ ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ตามลำดับ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ขออนุมัติงบประมาณกับรัฐบาล เพื่อดำเนินการเร่งแก้ไข ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณในปี2552 ในการติดตั้งน้ำดื่มให้กับโรงเรียน 430 แห่ง จากที่ต้องเร่งแก้ไขแหล่งน้ำดื่มของโรงเรียนเป็นการด่วน 2,478 แห่งน.ส.สมคิด  บัวเพ็ง อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวว่า ปัญหาเรื่องภัยแล้ง ในส่วนของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลตามหมู่บ้านชนบทเพียงเติ่มในปี 2552  อีก 300 กว่าแห่ง และที่ผ่านมา มีการขุดเจาะน้ำบาดาล พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำให้กับชาวบ้านไปแล้วกว่า 1,000 แห่ง  ตามหมู่บ้านที่ประสบกับปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก  นอกจากนี้เรายังมีการติดตั้งระบบประปากรองน้ำที่สะอาด ตามตำบลต่างๆ และสามารถนำน้ำมาดื่มได้อีกหากชาวบ้าน หรือโรงเรียนต่างๆ ขาดน้ำดื่มที่สะอาด แจ้งมายังหน่วยบริการน้ำบาดาล ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ตามอำเภอต่างๆ  ซึ่งเรามีรถบรรทุกน้ำบริการอีก 700 คันในช่วงฤดูแล้ง แต่หากน้ำยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาวบ้าน หรือหมู่บ้านอยู่ห่างไกลจุดแห่งน้ำ ทางกรมทรัพยากรบาดาล ร่วมกับกองทัพ บรรทุกน้ำแจกจ่ายให้กับชาวบ้านทุกปีอีกด้วย ทั้งนี้เรายังมีโครงการจัดหาแหล่งน้ำให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนชนบท ที่ตรวจพบว่าเป็นหมู่บ้านประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก โดยใช้เทคนิกทางวิชาการสำรวจธรณีฟิสิกส์ เพื่อหาแหล่งน้ำบาดาลให้กับชาวบ้านได้อุปโภคบริโภคในส่วนของการสำรวจร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการพบว่ามีโรงเรียนที่ขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดมากถึง 2,478 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพฐ.) ทั้งนี้น้ำดื่มที่นักเรียนใช้อยู่ พบว่าคุณภาพน้ำไม่สะอาด มีการปนเปื้อน และไม่เป็นไปตามมาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถึงร้อยละ80 นักเรียนส่วนใหญ่มักจะดื่มน้ำที่นำมาจากบ้าน ดังนั้นกรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงต้องเข้าไปแก้ปัญหาด้วยการเจาะบ่อน้ำบาดาล และวางระบบประปา และติดตั้งเครื่องกรองน้ำ เพื่อจัดหาน้ำดื่มสะอาดให้กับนักเรียนทั้ง 2,478 แห่ง โดยจะน้ำร่องในปี 2551 จำนวน 60 แห่ง ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 72.46 ล้านบาทสำหรับโรงเรียนนำร่อง 60 แห่ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆเป็นของตนเอง และเป็นพื้นที่ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ภัยแล้งอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี อาทิ ราชบุรี สุโขทัย บุรีรัมย์ ชัยนาท ศรีสะเกษ เป็นต้น นอกจากนั้น สพฐ. ยังเป็นหน่วยงานที่ให้ข้อมูลอีกทางหนึ่งรวมทั้งมีหน่วยงานที่ส่งเรื่องมาที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลด้วย สำหรับปีงบประมาณ 2552 กรมได้เสนอของบประมาณสำหรับโครงการสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล เพื่อสนับสนุนระบบน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศอีก 430 แห่ง งบประมาณทั้งสิ้น 527.61 ล้านบาท ถือเป็นการบูรณาการของหน่วยงานราชการ"เมื่อเข้าสู้ฤดูแล้งแล้ว แหล่งน้ำที่มีอยู่บนพื้นดินจะแห้งลงเป็นปัญหาทุกปี แม้แต่น้ำบาดาลสามารถที่จะขุดเจาะนำน้ำขึ้นมาใช้ได้ตลอด น้ำบาดาลจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสามารถที่จะช่วยเหลือจุดที่ไม่มีแหล่งน้ำได้ สำหรับแก้ไขปัญหาภัยแล้ง" น.ส.สมคิด  กล่าว
          ขณะที่นายศิริพงศ์  หังสพฤกษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ(ทน.) เปิดเผยว่า ปี 2552-2554  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำ เร่งบูรณะและฟื้นฟูแหล่งน้ำขนาดเล็กนอกเขตชลประทานทั่วประเทศ  รวมถึงแหล่งน้ำหลักที่ชุมชนใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรเป้าหมาย 6,552 แห่ง โดยใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 14,942 ล้านบาท เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ และภัยแล้งซ้ำซากในพื้นที่เสี่ยงการขาดแคลน น้ำมาก และปานกลางสำหรับการฟื้นฟูแหล่งน้ำในโครงการฯ เน้นให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1,189 แห่ง วงเงินลงทุน  4,887 ล้านบาท รองลงมา คือ ภาคเหนือ จำนวน 2,011 แห่ง วงเงินลงทุน 4,527 ล้านบาท   ภาคกลาง 846 แห่ง วงเงินลงทุน 3,815 ล้านบาท และภาคใต้ 2,506 แห่ง วงเงินลงทุน จำนวน 1,713 ล้านบาท  เมื่อ ดำเนินการแล้วเสร็จ คาดว่าจะเพิ่มความจุเก็บกักน้ำได้ถึง 834 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนได้ถึง 359,562 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2.19 ล้านไร่กระทรวงทรัพยากรฯ ยังได้มอบให้เร่งเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับแหล่งน้ำในประเทศ เช่น โครงการผันน้ำห้วยหลวง-หนองหาน ลำปาว-น้ำชี ใช้งบประมาณที่คณะรัฐมนตรี อนุมัติเงินลงทุน ประมาณ 76,500 ล้านบาท โดยจะดำเนินการระยะแรก 32,000 ล้านบาท ระยะที่2จะผันน้ำจากแม่น้ำงึม สปป.ลาว คาดว่าจะช่วยเพิ่มน้ำต้นทุนให้กับประเทศได้ถึง 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร  ขณะเดียวกันยังมีแผนประสานร่วมมือการจัดการน้ำกับต่างประเทศด้วย เบื้องต้นได้เตรียมร่วมบริหารจัดการเพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำพรมแดน เช่น แม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวินเพิ่มมากขึ้น  หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนสาธารณภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสาน และให้การช่วยเหลือโดยด่วน....

อ้างอิง
SCOOP@NAEWNA.COM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น